เมนู

ทุจริตวรรควรรณนาที่ 3


ทุจริตสูตรที่ 1 เป็นต้นแห่งวรรคที่ 3 มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. ใน
กวีสูตรที่ 10 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ผู้ที่คิดแล้วจึงแต่งบทกวี ชื่อว่า
จินตากวี. ผู้ที่ฟังแล้วจึงแต่งบทกวี ชื่อว่า สุตกวี. ผู้ที่อาศัยความแล้วแต่งบท
กวี ชื่อว่า อัตถกวี. ผู้ที่แต่งโดยปฏิภาณของตนในขณะนั้นเอง ดุจพระวัง-
คีสเถระ ชื่อว่า ปฏิภาณกวี.
จบทุจริตวรรควรรณนาที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ทุจริตสูตร 2. ทิฏฐิสูตร 3. อกตัญญูสูตร 4. ปาณาติปาต-
สูตร 5. ปฐมมัคคสูตร 6. ทุติยมัคคสูตร 7. ปฐมโวหารปถสูตร
8. ทุติยโวหารปถสูตร 9. อหิริกสูตร 10. ทุปัญญสูตร 11. กวีสูตร
และอรรถกถา.

กรรมวรรคที่ 4

1. สังขิตตสูตร


ว่าด้วยกรรม 4 ประเภท


[232] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม 4 ประเภทนี้ เราทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้ทราบ กรรม 4 ประเภทเป็นไฉน
คือ กรรมดำ มีวิบากดำก็มี กรรมขาว มีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำ
ทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำ
ไม่ขาว เป็นไปเพื่อสิ้นกรรมก็มี
นี้แล กรรม 4 ประเภท เราทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้ทราบ.
จบสังขิตตสูตรที่ 1